มูลนิธิอินเทอร์เน็ตฯ ร้อง สนช. ค้านกกท. หนุน ?เกมออนไลน์? เป็นกีฬา ชี้ เยาวชนไทยยังไม่พร้อม – รู้ไม่เท่าทันสื่อ
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่รัฐสภา นางศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย พร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษาจากเครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย เครือข่ายผู้ปกครอง และเครือข่ายครอบครัวกว่า 20 คนเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เพื่อขอให้ชะลอการส่งเสริมให้ E-Sports หรือเกมอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) ให้เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง เนื่องจากไทยยังมีปัญหาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ค่อนข้างค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องการเสพติดเกม เสพติดอินเทอร์เนต การล่อลวง การเข้าถึงเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย และเป็นอันตราย เช่น สื่อลามกอนาจารและความรุนแรงแก่เด็ก และเยาวชนยังขาดทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ จึงเห็นว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะอาจเป็นการซ้ำเติมปัญหา จึงขอให้ภาครัฐทบทวนและเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างมาตรการความร่วมมือในการจัดการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน นายวัลลภ กล่าวว่า กรรมาธิการได้ติดตามเรื่องนี้และมีความเป็นห่วง โดยวันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ จะมีการประชุมเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันเด็กติดเกมมากขึ้น และจะมอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการด้านเด็กที่มีคุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี และพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ไปดำเนินการต่อไป
เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ทางเราได้เอกสารฉบับย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายจึงนำมาให้อ่านกันนะครับ
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผกก.ปพ.บก.ป. พ.ต.ท.ปิยรัช สุภารัตน์ รองผกก.ปพ.บก.ป. ร.ต.ท.สุขัจพงศ์ ศรีวิตตวชิระ รองสว.กก.ปพ.บก.ป. สนธิกำลังตำรวจสภ.ด่านช้าง นำโดยพ.ต.ท.กิตติ เฟื่องฟู รองผกก.สส.สภ.ด่านช้าง พ.ต.ท.ปัญญา สุวรรณสิงห์ สว.สส.สภ.ด่
“Think Telco” Google ได้นำเสนอผลงานการวิจัยใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคไทยในยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ นำเสนอเรื่องราวในหลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เฉพาะในปี 2559 มีโทรศัพท์มือถือถูกจำหน่ายออกไปกว่า 14.8 ล้านเครื่อง1 แต่คนไทยมีวิธีการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือและแพ็คเกจการใช้งานอย่างไรบ้าง?