ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 เว็บไชต์ราชกิจนุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามที่มาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ข้อมูลด้าน สุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหาย ไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติ ให้ต้องเปิดเผย
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้เล็งเห็นความสําคัญในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของ ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันมีการนําสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องการทํางานและเรื่องการดําเนินชีวิต หากมีการใช้ไม่เหมาะสมอาจทําให้เกิดปัญหาในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการสาธารณสุข จึงได้กําหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพขึ้น เพื่อนําไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน ด้านสุขภาพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กว้างขวางมากขึ้น
โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงประกาศแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามท้ายประกาศนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ลงนามโดย พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับแนวทางปฏิบัติฉบับนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาล และองค์กรต่างๆรวมไปถึงการสาธารณสุขชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรนำไปใช้ควบคุมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสุขภาพโดยตรง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในความดูแลของตนเพื่อให้ใช้สื่อออนไลน์ทั้งในการทำงานและเรื่องส่วนตัว เนื่องจากการใช้งานในเรื่องส่วนตัวต้องคำนึงถึงวิชาชีพด้วย และการเผยแพร่สิ่งต่างๆผ่านสื่อออนไลน์นอกเวลางานต้องมีสติ คํานึงถึงความเหมาะสม และต้องตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม ป้องการการเข้าถึงจากคนบุคคลภายนอกหรืออาจพิจารณาแยกบัญชีผู้ใช้งานส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน เพราะการเผยแพร่ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในวิชาชีพด้วย
พร้อมทั้งต้องมีการศึกษากฎหมาย วินัย จริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ป่วยหรือระบบสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ เห็นเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพต้องมีการติดตามสภาพสังคม ทั้งทัศนคติและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้แนวทางฉบับดังกล่าวมีการปรับปรุงเป็นระยะๆเนื่องจาก ทัศนคติทางสังคมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการปรับแนวปฏิบัติเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียต่อผู้ป่วยทั้ง ร่างกาย สุขภาพ หรือทรัพย์สินโดยแฉพาะกรณีที่เป็นอันตราย หากเจ้าหน้าที่พบเห็นผู้กระทำการที่เข้าข่ายดังกล่าวควรแจ้งให้หยุดกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องและความมีจริยธรรมของวิชาชีพ ฯลฯ
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 3 พฤษภาคม พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4บก.ปคบ., พ.ต.ท.จตุรงค์ ผลเกิด รอง ผกก.4 บก.ปคบ. , พ.ต.ต.สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ สว.กก.4 บก.ปคบ.พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ.นำกำลังเข้าทำการตรวจค้นภ
เรียกได้ว่าปัญหานี้กำลังถูกพูดคุยกันอย่างมากบนโลกโซเชียล กับเรื่องราวของระบบการให้บริการ TrueWifi ที่เรียกได้ว่าให้ความสะดวกสบายกับผู้ใช้งานเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีจุดให้บริการจำนวนมากทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะตามห้างร้านต่าง ๆ ที่ทำให้คุณสามารถประหยัดค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ต 3G 4G ได้เป็นอย่างดี แต่บางครั้งมันความฉลาดที่มากเกินไปก็ทำให้หลาย ๆ คนกุมหัวเช่นกัน
บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้: