แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี) เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจากับ Facebook (เฟซบุ๊ก) ว่า ช่วงเย็นของวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊ก ได้ติดต่อกลับมาภายหลังทางสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(สมาคมไอเอสพี) ภายหลังก่อนหน้านี้ทางสมาคมไอเอส ขอความร่วมมือให้เฟซบุ๊กดำเนินการปิด URL ที่เข้าข่ายเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ตามคำสั่งศาล จำนวน 600 URL โดยล่าสุดทางเฟซบุ๊ก ได้ชี้แจงมายังไอเอสพี และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ระบุว่าพร้อมดำเนินการระงับการเผยแพร่เว็บบุคคลและเว็บเพจที่เข้าข่ายผิดกฎหมายตามคำสั่งศาลไทยทั้ง 600 URL ซึ่งหลังจากนี้จะทยอยดำเนินการโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เฟซบุ๊ก ยอมดำเนินการ เนื่องจากทางไอเอสพี ได้แจ้งไปว่าหากทางเฟซบุ๊ก ไม่ร่วมมือ ทางไอเอส อาจจำเป็นต้องปิดระบบ CDN( ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของเครื่องเซิฟเวอร์) ซึ่งเป็นเสมือนถึงเก็บข้อมูลของ Facebook ในประเทศไทย เพราะหากระบบดังกล่าวปิดลง จะทำให้การเรียกใช้งานข้อมูลของเฟซบุ๊ก แต่ละครั้ง ระบบต้องเรียกข้อมูลวิ่งไปกลับผ่านเกตเวย์ต่างประเทศ รวมถึงจะใช้ปริมาณของช่องทางการสื่อสาร(แบนวิธ) มากกว่า 5 เท่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเฟซบุ๊ก คือ ผู้ใช้งานจะรู้สึกว่าความเร็วในการใช้งานลดลงอย่างมาก ไปจนถึงปัญหาการธุรกิจต่างๆ และการโฆษณาก็จะตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เฟซบุ๊ก ยังรู้ว่ามาตรการสุดท้ายหากไม่ปฏิบัติตามก็คือการสั่งปิดการใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศไทย
15 เว็บไทยชั้นนำ ร่วมกันก่อตั้ง OPPA (Online Premium Publisher Association) หรือสมาคมการค้าสื่อออนไลน์คุณภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานโฆษณาออนไลน์ให้ตรงกัน ตรงใจผู้ซื้อโฆษณามากขึ้น และลดการรั่วไหลของเงินตราไปยังบริษัทต่างชาติ
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 27 เมษายน ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบช.ก. เรียกประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความคืบหน้าคดีที่ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ต้องหาฉ้อโกงประชาชน ห
ที่สำนักงาน กสทช. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย (สมาคมไอเอสพี) และผู้ให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ (ไอไอจี
ต้องบอกว่าใครที่ใช้ Online Banking บ่อยๆ และคนที่ใช้สมาร์ทโฟนระบบ Android ต้องระวังเป็นพิเศษ หลังมีคนพบมัลแวร์ที่แปลงหน้าเว็บ Online Banking จริงๆ ของ Kbank ให้มีการส่งข้อความเพื่อดาวน์โหลดแอป!