สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ออกมาเตือนเมื่อวันจันทร์ (13 กุมภาพันธ์) ถึงการตุ้มตุ๋นหลอกเอาเงินทางออนไลน์ที่กลุ่มนักต้มตุ๋นมักพุ่งเป้าหมายการหลอกเอาเงินไปที่กลุ่มเหยื่อซึ่งเป็นคนโดดเดี่ยวที่ถวิลหาความรัก
โดยนางดีเลีย ริกคาร์ด รองประธานคณะกรรมาธิการการแข่งขันและผู้บริโภคของออสเตรเลีย (เอซีซีซี) แถลงว่า การต้มตุ๋นโดยใช้ความรักเป็นเครื่องมือล่อ ได้ทำให้ออสเตรเลียสูญเงินไปมากกว่าการฉ้อโกงในรูปแบบอื่นๆ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกมักเป็นกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ที่ตกเป็นเหยื่อตุ๋นรักออนไลน์ ในช่วงวันวาเลนไทน์นี้ที่มีผู้กำลังมองหาความรัก ก็ให้ตระหนักถึงสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ เพราะนักต้มตุ๋นที่เข้ามาล่อลวงมักจะสร้างประวัติให้ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งรวมถึงวิธีการขโมยข้อมูลของบุคคลที่น่าเชื่อถือมาใช้ในการหลอกลวงผู้อื่นด้วย
ขณะที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงมาเลเซีย เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียและสิงคโปร์แถลงผลการจับกุมผู้ต้องสงสัย 27 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวไนจีเรีย 11 คน ซึ่งถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติการร่วมกันกวาดล้างเครือข่ายหลอกต้มคนหาคู่ทางออนไลน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่มาเลเซียระบุว่า ในปี 2016 ที่ผ่านมา นักต้มตุ๋นแก๊งนี้ได้หลอกต้มเอาเงินไปจากเหยื่อในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ราว 108 ราย ได้เงินไปรวมกันมีมูลค่า 21.6 ล้านริงกิต หรือมากกว่า 173 ล้านบาท โดยของกลางที่ใช้ในการต้มตุ๋นหลอกลวงเหยื่อที่เจ้าหน้าที่ยึดมาได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และบัตรเอทีเอ็ม
ด้านนายอาครีล ซานี ผู้อำนวยการกองสืบสวนอาชญากรรมทางธุรกิจของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ในจำนวนนี้เป็นชาวสิงคโปร์ 43 ราย และชาวมาเลเซีย 65 ราย ที่มีผู้สูงอายุรวมอยู่ด้วย เจ้าหน้าที่เชื่อว่ายังมีเครือข่ายแก๊งต้มตุ๋นในลักษณะนี้ปฏิบัติการอยู่ในประเทศมาเลเซียอีกหลายเครือข่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป โดยผู้กระทำผิดจะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 20 ปี
ขณะที่นายเดวิด จิว ผู้อำนวยการกรมการค้าพาณิชย์ของสิงคโปร์ชี้ว่า การต้มตุ๋นทางออนไลน์นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นและทำกันข้ามประเทศมากยิ่งขึ้น
"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 60" บังคับใช้วันนี้!! สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอิเลคทรอนิกส์
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าภายหลังประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) ครั้งที่ 1/2560 ว่า มติที่ประชุมได้มีการทบทวนรายการสินค้าและบริการควบคุม และมาตรการกำกับดูแลปี 2560 แทนมาตรการกำกับดูแลปี 2559
ไมโครซอฟต์เผยผลการสำรวจ “Microsoft Asia Workplace 2020” พบว่า พนักงานออฟฟิศในประเทศไทยยังไม่รู้สึกว่าพวกเขาได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับสถานที่ทำงานแบบดิจิทัลเท่าที่ควร
บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้: