‘บิ๊กเข้’ แนะเด็กไทยรู้ทันออนไลน์-ป้องกันละเมิดสิทธิ์
18 ต.ค. 60 รัฐ/กฎหมาย 2513

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ มหานาค พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีรับข้อเสนอของเด็กและเยาวชนในงานเวทีสิทธิเด็ก ครั้งที่ 27 หัวข้อ “Be Smart & Safe Online : ก้าวทันสื่อ รู้ทันสิทธิ…ออนไลน์” เนื่องในวันสิทธิเด็กสากลซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี โดยมีพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายไมตรี อินทุสุต ปลัดพม.ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวว่า พม.ได้เล็งเห็นความสำคัญการมีส่วนร่วมของเด็ก ซึ่งการจัดงานในวันนี้ ถือเป็นเวทีส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้อง ดูแล และพัฒนาเด็กในมิติต่างๆ ด้วยตัวของเด็กและเยาวชนเอง โดยการประกาศเจตนารมณ์การปกป้องและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ มาจากการระดมความคิดเห็นของผู้แทนเด็กและเยาวชนที่มารวมตัวกัน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

“ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับบุคคลแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ต้องตระหนัก และมีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม การดำเนินงานด้านสื่อออนไลน์สำหรับเด็กและเยาวชน นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตามแนวนโยบายประชารัฐด้านสังคม เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินงาน เกิดการระดมสรรพกำลัง ในการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืนและมั่นคง ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ขอชื่นชมผู้แทนเด็กและเยาวชนทุกคน และขอขอบคุณทุกหน่วยงาน ที่ร่วมมือกันสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนต่อยอดพลังความคิดที่สร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป” พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว

ด้านพล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวถึงการใช้สื่อออนไลน์ละเมิดสิทธิเด็ก ว่า เรื่องนี้เรามีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อและคอมพิวเตอร์ แต่หากเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันก็จะทำให้ละเมิดได้ยากขึ้น และหากมีการกระทำผิดจริงรัฐบาลก็มีกฎหมายที่ค่อนข้างรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมและป้องกันคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการใช้สื่อออนไลน์ปี 2560-2562 ส่วนการต่อยอดตามเจตนารมณ์ที่เยาวชนได้ประกาศไปนั้นเราก็พร้อมสนับสนุนผ่านกระทรวงพม.อยู่แล้ว

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ร้อง สนช. ค้านกกท. หนุน ?เกมออนไลน์? เป็นกีฬา หวั่นเยาวชนไม่รู้เท่าทัน


18 ต.ค. 60  ติดเกมส์

แฟ้มภาพ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตฯ ร้อง สนช. ค้านกกท. หนุน ?เกมออนไลน์? เป็นกีฬา ชี้ เยาวชนไทยยังไม่พร้อม – รู้ไม่เท่าทันสื่อ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่รัฐสภา นางศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย พร้อมด้วย

‘พิสิษฐ์’ ยันสื่อต้องมีใบอนุญาต ใครไม่มีจำคุก เพจดัง-ข่าวออนไลน์ ถ้ามีรายได้ ถือเป็นสื่อหมด


18 ต.ค. 60  รัฐ/กฎหมาย

“พิสิษฐ์” ยัน สื่อต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ไม่ต่างจากนวดแผนโบราณถ้า ชี้ ใครไม่มีก็ต้องจำคุกเหมือนกัน ยก เว็บ sanook – kapook เข้าข่ายสื่อออนไลน์ภายใต้กม.คุ้มครองสื่อ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.)

ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์


29 ต.ค. 58  Cyber Crime

การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

เทรนด์ไมโครเตรียมพร้อม ป้องกัน และกู้คืนข้อมูลจาก Ransomware ให้คุณ


30 ก.ค. 60  ติดเกมส์

บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกค้าและผู้บริโภคให้รอดพ้นจากการโจมตีด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เพียงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครสามารถปิดกั้นภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กว่า 100 ล้านรายการให้ลูกค้า โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของภัยคุกคามที่ปิดกั้นมาจากอีเมล์และเว็บแทรฟฟิก พร้อมนำเสนอภาพรวมการปกป้องตนเองด้วยการตระหนักถึงการเติบโตและผลกระทบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้: