สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติบุกร้อง กสทช.จัดการเว็บไซต์ฉายหนังละเมิดลิขสิทธิ์ ชี้ต้นเหตุรายได้ไม่ได้ตามเป้า ขาดแรงสร้างสรรค์ ทั้งเป็นแหล่งแอบแฝงขายสินค้าลามก สนามเล่นพนันบนออนไลน์ เผยยอดนิยมโหลดดูฟรีกว่า 2 ล้านเรื่อง ฐากร ดึง 12 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก้ปัญหา
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา นายวิชา พูลวรลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการกับเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการนำภาพยนตร์ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
นายพรชัย ว่องศรีอุดมพร กรรมการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติฯ กล่าวว่า ด้วยเทคโนโลยียุคปัจจุบัน ทำให้มีช่องทางดูหนังออนไลน์ผ่านเว็บไซต์จำนวนมาก ตั้งแต่การให้ชมทั้งภาพยนตร์เต็มเรื่อง หนังลามก และการพนัน เป็นต้น มีทั้งฟรีและคิดค่าสมาชิก รวมถึงเปิดโหลดฟรีบนอินเตอร์เน็ตมากกว่า 2 ล้านเรื่อง เมื่อเปิดเข้าไปดูจะมีโฆษณาแฝงประเภทลามกอนาจาร และเว็บไซต์ชวนเล่นพนันอีกจำนวนมาก จึงอยากให้ กสทช.ช่วยระงับการเผยแพร่หนังลิขสิทธิ์ทั้งหมดในโลกออนไลน์
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญการการละเมิดลิขสิทธิ์มาตลอด และ กสทช.เองก็มีการตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พร้อมกับหารือกับสมาพันธ์แล้ว 2 ครั้ง และให้ทางสมาพันธ์เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ก่อนเพื่อนำหลักฐานการแจ้งความมาให้ กสทช. ดำเนินการแจ้งไปยังไอเอสพีเพื่อดำเนินการนำเว็บไซต์ดังกล่าวออกจากระบบ ขณะนี้สมาพันธ์ได้แจ้งความกับเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์และนำเอกสารการแจ้งความมาให้ กสทช.แล้วจำนวน 36 เว็บไซต์
“กสทช.ยังประชุมกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) รายใหญ่ 12 ราย ก่อนทำหนังสือส่งให้ไอเอสพีอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ไอเอสพีแจ้งเว็บไซต์ที่กระทำความผิดนำภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากเว็บไซต์ ส่วนคดีความการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องกระบวนการชั้นศาล”
นายฐากรกล่าวว่า กสทช.ใช้อำนาจในการเป็นผู้ให้ใบอนุญาตกับไอเอสพีในการดำเนินการดังกล่าวได้ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เนื่องจากในใบอนุญาตได้ระบุไว้ว่าไอเอสพีต้องไม่นำเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายมาเผยแพร่ ดังนั้นเมื่อสมาพันธ์ได้ไปแจ้งความกับ ปอศ.แล้ว กสทช.ก็สามารถแจ้งให้ไอเอสพีดำเนินการลบหรือระงับการเผยแพร่ได้ แต่กระบวนการจะรวดเร็วแค่ไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับไอเอสพี ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ไอเอสพีเจอ แต่ กสทช.จะรีบส่งหนังสือให้เร็วที่สุด และนับจากนี้กระบวนการของไอเอสพีในการประสานงานกับเว็บไซต์จะเร็วขึ้นตามลำดับ
“ผู้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ระบุว่าความเสียหายจากหนังที่สร้างรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า ทำให้แรงจูงใจในการสร้างหนังดีๆ หายไป และไม่อยากที่จะลงทุน การร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการจัดระเบียบสื่อออนไลน์ต่างๆ ส่วนการดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิด ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายว่าจะร้องเรียนต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหรือการดำเนินคดีอย่างไรต่อไป” นายฐากรกล่าว
(แฟ้มภาพ) ความคืบหน้ากรณีพบกล่องพัสดุ3กล่อง บรรจุระเบิดชนิดM67 (ลูกเกลี้ยง) จำนวน 4 ลูก ระเบิดชนิด M26(น้อยหน่า)2ลูก และกระสุนปืนเอชเค100นัด ภายในร้าน Kerry Exprees เคอรี่เอ็กซ์เพรส สาขาบางเขน ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ต.อ.อำนาจ อินทร
แบไต๋เคยนำเสนอเรื่องราวของนพ. อิทธิฤทธิ์ จุฬาลักษณ์ศิริบุญ ผู้สร้างเพจ Dad Mom and Kids กันไปเมื่อคราวที่คุณหมอแสดงความคิดเห็นต่อต้านวิดีโอเกม ที่ไม่ให้เด็กๆ ในครอบครัวไปเกี่ยวข้องกับวิดีโอเกมใดๆ เลย ล่าสุดเพจ Dad Mom and Kids ของคุณหมอกลายเป็นประเด็นในโลกโซเซียลอีกครั้งเมื่อมีผู้ตั้งแคมเปญรณรงค์ใน Change.org เรียกร้องให้ “แพทยสภา ตรวจสอบจริยธรรม นพ.อิทธิฤทธิ์ จุฬาลักษณ์ศิริบุญ”
การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้