เตือน! ช้อปออนไลน์ ‘เสื้อผ้า-บัตรคอนเสิร์ต’ เสี่ยงถูกโกงสูง แนะ 5 วิธีป้องกัน
18 ต.ค. 60 ช้อปปิ้งออนไลน์ 1923

พ.ศ.นี้ใครไม่รู้จักการสั่งซื่อของทางออนไลน์คงเชยสะบัด เพราะเดี๋ยวนี้กดสมาร์ทโฟนนิดๆหน่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือที่ทำงาน ไม่กี่วันก็มีของส่งมาถึงหน้าบ้าน ไม่ต้องไปจอแจรถติดที่หน้าห้างให้หงุดหงิดเสียอารมณ์ แต่รู้แล้วก็จะเพลิดเพลินช้อปออนไลน์อย่างเดียวไม่ได้ ส่วนจะเพราะอะไร เป็นความรู้ดีๆจากงาน “สัมมนาผู้บริโภคและรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล” จัดโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต กรุงเทพ

รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การคุ้มครองผู้บริโภคยุค 4.0” ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังนิยมในยุค 4.0 คือการซื้อขายออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อขายบนแอพพลิเคชั่นอย่าง เฟชบุ๊ก อินสตาแกรม และเมสเซนเจอร์ ซึ่งในปี 2559 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ประมาณการมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซอยู่ที่ 2.3 – 2.4 แสนล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2567 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะอยู่ที่ 15% ของตลาดค้าปลีกรวมของประเทศ

 

พบเจนวายเป็นหนี้บัตรเครดิตเพราะช้อปออนไลน์

รศ.วิทยากล่าวอีกว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ที่น่าสนใจคือ นักช็อปออนไลน์จะเลือกซื้อสินค้าประเภทราคาไม่สูงมากนักที่สามารถรับความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเพราะมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งกลุ่มเจนวายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดซื้อขายออนไลน์ โดยจากข้อมูลรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559 พบว่า เจนวาย เป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนสูงที่สุดถึง 38% ขณะที่กลุ่มเจนเอกซ์และเบบี้บูมอยู่ที่ 23% โดยเหตุผลที่กลุ่มเจนวายนิยมซื้อขายออนไลน์สูงสุดคือ สะดวกสบาย มีบริการส่งถึงบ้าน ตามด้วยมีร้านค้าออนไลน์ให้เลือกซื้อมากขึ้น และราคาถูกกว่าซื้อหน้าร้าน

ทั้งนี้ สำหรับวิธีการชำระเงินพบว่า กลุ่มเจนวายนิยมเลือกการชำระผ่านตู้เอทีเอ็มสูงสุด ตามด้วยธนาคารออนไลน์ และชำระเงินปลายทาง ซึ่งคนเจนเอกซ์และวายเป็นกลุ่มคนที่ต้องจับตาหนี้เสียในทุกประเภทสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายที่มีหนี้เสียจากสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากการจับตาของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

 

พบ 5 สินค้าเสี่ยงถูกโกง-แนะ 5 วิธีป้องกันโกง

“จากการตรวจสอบพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมักถูกโกงบนออนไลน์ ได้แก่ เสื้อผ้า-รองเท้า โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าแบรนเนมมือสอง ตั๋วคอนเสิร์ตนักร้องเกาหลี ผมจึงมี 5 วิธีในการป้องกันเมื่อถูกโกงออนไลน์ ดังนี้ 1.เก็บรวบรวมหลักฐานโดยเร็วที่สุดทั้งภาพสนทนา ภาพหน้าร้าน หลักฐานการชำระเงิน 2.นำหลักฐานไปแจ้งความโดยเร็วที่สุด เพราะอายุความมีระยะเวลาเพียง 3 เดือน นับจากเกิดเหตุ”

“3.สแกนใบแจ้งความเพื่อขอ IP Address กับผู้ให้บริการเว็บไซต์ 4.นำหมายเลข IP ที่ได้มาพร้อมทั้งใบแจ้งความยื่นไปทาง ISP ของคนที่โกงเงินใช้อยู่เพื่อสืบหาที่อยู่ และ 5.นำที่อยู่นั้นส่งให้ตำรวจเพื่อจับกุมตัว พร้อมกับแจ้งกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อปิดเว็บไซต์” รศ.วิทยากล่าวและว่า

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโกง ก่อนซื้อทุกครั้งควรตรวจสอบประวัติผู้ขาย ทั้งชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้กระทั้ง Username ชื่อร้านค้าของคนขายมาลองเสิร์ชหาใน Google หรือค้นหาตัวตนคนขายจากเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตนได้ เช่น peekyou.com และ socialmention.com เพื่อค้นหาข้อมูลของผู้ขาย ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ทั้งหมด

 

รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์
รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์

DSC_3323

DSC_3435

 

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

จับ2แอดมินเพจ “วัยรุ่น นอนเช้า-หนีเมียมาซิ่ง(ที่นี่ดินแดง)” เปิดห้องออนไลน์เด็กแว้นซิ่งป่วนเมือง


18 ต.ค. 60  เน็ตไอดอล

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 28 เมษายน ที่กองกำกับการสายตรวจ 191 กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.สปพ. พ.ต.อ.สำราญ นวลมา รองผบก.สปพ. พ.ต.อ.จักรเพชร เพชรพลอยนิล ผกก.สายตรวจ และพ.ต.อ.นิธิธร จินตกานนท์ รองผ

ปิดฉากโจ๋ติดเกมส์ ตระเวนลักทรัพย์ทั่วเมืองนครพนม พบ 5 ปีก่อนเคยถูกจับคดีวิ่งราว


18 ต.ค. 60  ติดเกมส์

วันที่ 3 มีนาคม เวลา 12.00 น. พ.ต.อ.อุกกฤษฎ์ ทรงชัยสงวน ผกก.สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ก้องเกียรติ เฟื้องทอง รักษาราชการ รอง ผกก.(ป.) สภ.เมืองนครพนม พ.ต.ท.ประสิทธิ มิรัตนไพร รอง ผกก.สืบสวน พ.ต.ท.โดมฤทธิ์ ศรีพินเพราะ สว.สส. ร.ต.อ.ศักดิ์ศรี ศรีพั่ว พนักงานสอบสวน

“ปปง.”อายัดบัญชีเงินฝาก คดีพนันออนไลน์เพิ่ม 4 บัญชี


18 ต.ค. 60  พนันออนไลน์

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซด์ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ย.59/2560 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) ระบุว่า ตามที่เลขาธิการ ปปง. ได้มีคำ

โจรสุดแสบ แอบตามที่อยู่ผู้เสียหายจากการแชร์ Location ใน Instagram เพื่อขโมยชุดชั้นใน!!


11 ธ.ค. 58  Cyber Crime

หลายครั้งที่เรามักจะอยาก แชร์ Loaction หรือ เช็คอินสถานที่ ที่เรากำลังอยู่ ณ ตอนนั้น ลงในโลกโซเชียล เพื่ออยากให้ใครต่อใครได้รับรู้ว่าเรามาถึงที่นี่แล้วนะ เราอยู่ที่นี่แล้วนะ และนั่นก็เป็นช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดีใช้เป็นเครื่องมือในการทำสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างง่ายๆเลย