ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์
18 ต.ค. 60 Cyber Crime 1384

ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์

ไมโครซอฟท์ ตอกย้ำพันธสัญญา การสร้างความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยี

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์

การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ที่จัดขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ประเทศไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งงานเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นควบคู่กับงานประชุมที่ยิ่งใหญ่ประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2015 (Cyber Defense Initiative Conference 2015) ที่จัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2558

Photo

(จากซ้ายไปขวา) มร. คีชาว์ฟ ดาห์คาด นักกฎหมายอาวุโสและผู้อำนวยการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยอาชญากรรมดิจิทัล, มร. ปิแอร์ โนแอล เจ้าหน้าที่บริหารและที่ปรึกษาฝ่ายรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ ไมโครซอฟท์ เอเชีย และ คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience

จากการสำรวจโดย หน่วยอาชญากรรมดิจิทัลของไมโครซอฟท์ (Microsoft Digital Crimes Unit-DCU) มีการประเมินว่าในทวีปเอเชียนั้น มีมากกว่า 5 ล้านไอพีแอดเดรส ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีซอฟท์แวร์ที่ไม่น่าปลอดภัยจำนวนหลายล้านเครื่อง และประเทศไทยเองก็ติดอยู่ในระดับท็อป 25 ของประเทศที่มีอัตราเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงที่สุดในโลก จากผลการศึกษาและสถิติจากหน่วยงานภายนอกล่าสุด ในขณะนี้เอเชียแปซิฟิก คือ ภูมิภาคที่เป็นเป้าหมายในการโจมตีทางอาชญากรรมทางไซเบอร์มากที่สุด1

จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า 79% ของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) ในองค์กรขนาดใหญ่ของเอเชีย จึงมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย (security) ความเป็นส่วนตัว (privacy) ความโปร่งใส (transparency) และกฏระเบียบมาตรฐานของโซลูชั่นระบบคลาวด์2 (compliance) และจากเอกสารเผยแพร่ที่ถูกตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และบริษัทวิจัยตลาด อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอร์เรชั่น คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2014 ผู้บริโภคในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิก อาจใช้เงินมากถึง 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกถึง 40%) ในการระบุตัวตน แก้ไข และ กู้คืนข้อมูล และจัดการกับนักจารกรรมข้อมูลที่มาจากซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย และในรายงานการศึกษาฉบับเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าความเสียหายจากซอฟท์แวร์ผิดกฎหมายและข้อมูลที่สูญหายสามารถทำให้บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 229 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลก 45%) ในปีเดียวกัน

ตัวเลขที่น่าตกใจเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ไมโครซอฟท์ก้าวขึ้นมามีบทบาทในเอเชียมากขึ้น รวมถึงในประเทศไทยด้วย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไมโครซอฟท์ได้พยายามสร้างความแข็งแกร่งและปกป้องแพลตฟอร์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองที่มีมาหลายทศวรรษ แต่สิ่งที่ทำให้ไมโครซอฟท์แตกต่าง คือ ความสามารถในการต่อต้านอาชญากรรมด้านไซเบอร์แบบ “เชิงรุก”

“ไมโครซอฟท์ให้สัญญาว่าเราจะขยายขอบข่ายการต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก เพื่อปกป้องผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ลูกค้าและภาครัฐ ผ่านความร่วมมือการแบ่งปันข่าวกรองด้านภัยคุกคามไซเบอร์กับทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะที่เราเป็นบริษัทที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและให้บริการแพลตฟอร์มในยุคโมบายและคลาวด์ เรามีความเชื่อมั่นในแอปพลิเคชั่น อุปกรณ์และการให้บริการคลาวด์ที่ไว้วางใจได้ เราต้องการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าและพันธมิตรของเรา โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ความเป็นส่วนตัว การปฎิบัติตามกฎระเบียบและความโปร่งใส ทำให้ลูกค้าที่ใช้งานเทคโนโลยีและบริการด้านคลาวด์ของเรามั่นใจได้ว่า ไมโครซอฟท์มอบบริการเทคโนโลยีที่ไว้วางใจให้กับผู้ใช้งาน” มร. คีชาว์ฟ ดาห์คาด นักกฎหมายอาวุโสและผู้อำนวยการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยอาชญากรรมดิจิทัล ระดับภูมิภาคเอเชีย ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าว

นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การสร้างความไว้วางใจในโลกของดิจิทัลนั้นมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมากเพื่อรับประกันว่าบุคคลและองค์กรจะสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากบุคคลและองค์กรในประเทศไทยนั้น มีการติดต่อกันผ่านอุปกรณ์และระบบสารสนเทศกันมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกอาชญากรด้านไซเบอร์หาผลประโยชน์โดยการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการเงิน หรือข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆ”

Forensics Lab

เพิ่มความปลอดภัยด้านไซเบอร์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า
การเตรียมพร้อมต่อสู้กับอาชญากรรมด้านไซเบอร์และป้องกันภัยจากซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ ทำให้ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความแข็งแกร่งแก่ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์อยู่เสมอ ทำให้ไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น System Center Endpoint Protection ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยและต่อต้านซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายสำหรับองค์กรธุรกิจ และ Windows Defender ที่อัปเดทอยู่เสมอ นี่คือตัวอย่างบางส่วนของความปลอดภัยด้านไซเบอร์ระดับโลกที่ไมโครซอฟท์มอบให้แก่ลูกค้า

ไมโครซอฟท์ยังมีความมุ่งมั่นในการมอบแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานสามารถไว้วางใจได้ นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลและต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะได้รับการพัฒนาด้วยการใช้ Security Development Lifecycle ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาซอฟแวร์สำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่จะช่วยลดจำนวนและความรุนแรงของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแสวงหาผลประโยชน์

Cyber Threat Intelligence Map

ไมโครซอฟท์ยังเน้นย้ำว่าไม่เพียงแต่ผู้จัดการด้านไอทีหรือผู้บริหารด้านสารสนเทศของบริษัทเท่านั้น ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยด้านไซเบอร์ แต่ทุกคนในบริษัท ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างต่างมีความรับผิดชอบในการลดความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในองค์กรเช่นเดียวกัน และก้าวแรกของการไปสู่การสร้างองค์กรที่มีความปลอดภัยด้านไซเบอร์นั้น คือการใช้เทคโนโลยีของแท้และถูกต้อง

ด้วยความเสี่ยงในโลกออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น และเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อภัยด้านไซเบอร์ที่มีให้เห็นบ่อยมากขึ้น อาจทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเกิดความลังเลในคุณภาพและความไว้วางใจ ไมโครซอฟท์มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความไว้วางใจในเทคโนโลยี โดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับสูงสุด

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

‘รู้ให้ทัน ยันให้อยู่’ CLOUDSEC 2015 พร้อมรับมือโจรไซเบอร์ !!


10 ก.ย. 58  โจรกรรมข้อมูล

CLOUDSEC การประชุมชั้นนำด้านการรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตในเอเชีย-แปซิฟิกและยุโรป ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ “รู้ให้ทัน ยันให้อยู่” หรือ “Expect the Unexpected”

บุกจับพ่อค้าบารากู่-น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ขณะกดรหัสลับหน้าประตู เผยขายออนไลน์ มีวงจรปิดส่องคนเข้าออกรัดกุม


18 ต.ค. 60  ยาเสพย์ติด

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 พล.ต.ต. ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ สคบ นำโดย. พ.ต.อ ประทีป เจริญกัลป์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฯ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย ร.ต.นิมิต จ

Trend Micro  คาด “ปีนี้” ภัยคุกคามโลกออนไลน์เดือดกว่าปีก่อนหลายเท่า


12 ม.ค. 60  ภัยคุกคามออนไลน์

เทรนด์ไมโคร อินคอร์ปอเรทเต็ด ผู้นำด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เปิดเผยรายงานคาดการณ์ประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในชื่อ “The Next Tier – 8 Security Predictions for 2017” ซึ่งคาดการณ์ว่าปี 2560 จะเกิดการโจมตีเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น โดยนักโจมตีที่มุ่งร้ายจะใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างหลากหลายเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง

สรุปเสวนา Pok?mon GO หมอลี่ยันประเทศไทยไม่อ่อนแอขนาดถูกเกมเดียวทำลายได้!


13 ส.ค. 59  ติดเกมส์

เมื่อวันพฤหัสที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานเสวนาในครั้งที่ 2 ขึ้นมา ซึ่งครั้งนี้เป็นหัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยมจนเรียกได้ว่าเป็นระดับ Distruptive แห่งชาติ กับเรื่อง