ใช้ Online Banking ต้องไหวตัวเร็ว พบไวรัส Android มุ่งเป้า Kbank!
18 ต.ค. 60 online banking 2122

ใช้ Online Banking ต้องไหวตัวเร็ว พบไวรัส Android มุ่งเป้า Kbank!

ใช้ Online Banking ต้องไหวตัวเร็ว พบไวรัส Android มุ่งเป้า Kbank!

ต้องบอกว่าใครที่ใช้ Online Banking บ่อยๆ และคนที่ใช้สมาร์ทโฟนระบบ Android ต้องระวังเป็นพิเศษ หลังมีคนพบมัลแวร์ที่แปลงหน้าเว็บ Online Banking จริงๆ ของ Kbank ให้มีการส่งข้อความเพื่อดาวน์โหลดแอป!

สมาชิกพันทิปชื่อว่า “คากิจัง โย่ โย่” ได้โพสต์กระทู้เตือนภัยเว็บ K cyber Banking ปลอมที่เข้าจาก Google ผ่านคีย์เวิร์ดว่า “k cyber banking” และแม้ว่าเธอจะเข้าลิงค์แรกที่ขึ้นมาในมือถือแต่ก็พบกล่องข้อความให้กรอกเบอร์มือถือ และหน้า SMS ให้โหลดแอปแปลกๆ จึงมาเตือนให้คนอื่นได้รับรู้ แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นว่าเว็บ Kbank ที่เธอเข้านั้นเป็นเว็บของจริง แต่ถ้ามัลแวร์แทรกโค้ดเข้าไปเพื่อหลอกให้เธอติดตั้งมัลแวร์เข้าไปเพิ่มซะได้

เราเคยเรียนรู้ว่าเว็บที่ธนาคารของจริงต้องมีกุญแจที่ช่อง URL ต้องใช้ลิงค์ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งอันดับผลค้นหาต้นๆ ที่ไม่ใช่ลิงค์โฆษณาในกูเกิ้ลก็เชื่อถือได้ระดับหนึ่ง และสำหรับหน้า Online Banking ของ Kbank สามารถเข้าได้จาก 2 URL ที่ถูกต้องเท่านั้นคือ http://www.kasikornbank.com และ https://online.kasikornbankgroup.com แต่ตอนนี้เรื่องราวที่เรารู้เหล่านี้กลับไม่สามารถป้องกันตัวเองจากมัลแวร์รุ่นใหม่ๆ อย่างที่เจ้าของกระทู้พันทิปท่านนี้เจอได้แล้ว เว็บแบไต๋จึงอยากขอแนะนำดังนี้

  1. ตระหนักไว้เสมอว่าเราอาจเจอมัลแวร์เมื่อไหร่ก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรไม่ชอบมาพากล มีขั้นตอนอะไรที่ผิดปกติจากที่เคยเจอ โดยเฉพาะการขอติดตั้งแอปเพิ่ม ให้รีบติดต่อเช็คกับธนาคาร
  2. ความปลอดภัยของ Android ด้อยกว่าระบบสมาร์ทโฟนอื่นๆ อยู่แล้ว และการติดตั้งแอปนอก Play Store ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสติดมัลแวร์ได้มากขึ้นไปอีก
  3. กุญแจเขียวๆ บน URL ไม่ได้แปลว่าเว็บนั้นเป็นของจริงเสมอไป อย่าไว้ใจไปทั้งหมด
  4. นอกจากภัยบนสมาร์ทโฟนแล้ว เราเตอร์ก็เป็นเป้าหมายสำคัญของโจรไฮเทค เพราะสามารถส่งมัลแวร์เข้าไปเปลี่ยนเส้นทางของเว็บที่เปิดได้ เว็บแบไต๋จึงแนะนำให้เปลี่ยนรหัส Admin ของเราเตอร์ทุกเครื่องให้เป็นรหัสส่วนตัวของเรา

ไม่ว่ามัลแวร์จะพัฒนาไปแค่ไหน ถ้าเรามีความรู้เรื่องการระวังภัยพื้นฐาน ก็จะช่วยให้ชีวิตเราปลอดภัยขึ้นอีกเยอะครับ

ที่มา: Pantip

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

‘รู้ให้ทัน ยันให้อยู่’ CLOUDSEC 2015 พร้อมรับมือโจรไซเบอร์ !!


10 ก.ย. 58  โจรกรรมข้อมูล

CLOUDSEC การประชุมชั้นนำด้านการรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตในเอเชีย-แปซิฟิกและยุโรป ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ “รู้ให้ทัน ยันให้อยู่” หรือ “Expect the Unexpected”

วันเดียว-ร้อยราย! แจ้งความถูกโกงแชร์ออนไลน์ สูญเงินร่วม 10 ล้าน


18 ต.ค. 60  ต้มตุ๋น/ หลอกลวง

พ่อค้าแม่ค้า ข้าราชการ แห่เข้าแจ้งความหลังถูกสาวเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าโกงแชร์ออนไลน์ สูญเงินรวมกว่า 10 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 21 ธ.ค.59 น.ส.คันธาณ์มาลย์ ธีรสบายจิต อายุ 26 ปี ชาว ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และ นายเจนภพ จงใจ อายุ 30 ปี ชาว

สมาคมไอเอสพี พบ”กสทช.” ร่วมสกัดกั้นเว็บผิดกฎหมาย


18 ต.ค. 60  เวปผิดกฎหมาย/เวปปลอม

เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กลุ่มผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี) ในนามสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(สมาคมไอเอสพี) ได้เดินทางมายื่นหนังแสดงจุดยืนในการมีความร่วมมือ

บุกจับพ่อค้าบารากู่-น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ขณะกดรหัสลับหน้าประตู เผยขายออนไลน์ มีวงจรปิดส่องคนเข้าออกรัดกุม


18 ต.ค. 60  ยาเสพย์ติด

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 พล.ต.ต. ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ สคบ นำโดย. พ.ต.อ ประทีป เจริญกัลป์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฯ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย ร.ต.นิมิต จ