ที่สำนักงาน กสทช. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย (สมาคมไอเอสพี) และผู้ให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ (ไอไอจี) ว่า เพื่อติดตามผลการดำเนินการในการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารข้อมูลข่าวสารที่ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ เบื้องต้นพบว่ามีผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียรายใหญ่บางรายยังไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงเชิญตัวแทนจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มาร่วมด้วย
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะกฎหมายในการเอาผิดอยู่แยกกันคนละหน่วยงาน กสทช.จึงทำหน้าที่บูรณาการทุกกฎหมาย และทุกหน่วยงานร่วมกัน ซึ่งทุกหน่วยงานมีบทบาทเท่ากัน ไม่ใช่ กสทช. เป็นเจ้าภาพเพียงฝ่ายเดียว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมไอเอสพี ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย หลังจากมีหมายศาลให้ปิดเว็บเพจทั้งหมด 6,900 URL แต่ยังคงเป็นเพจที่มีการเข้ารหัสอยู่ 600 URL นั้น พบว่าในจำนวนนั้นเป็นของทั้ง กูเกิล ยูทูบ และเฟซบุ๊ก โดยเป็นของเฟซบุ๊ก 309 URL ซึ่งเฟซบุ๊กได้นำออกแล้ว 178 URL แต่ยังไม่สามารถนำออกได้อีก 131 URL ขณะที่ กูเกิล และยูทูบ นำออกหมดแล้ว ดังนั้นจึงยังเหลือเว็บไซต์ผิดกฎหมายที่ค้างอยู่ 131 URL ซึ่งเฟซบุ๊กไม่ได้แจ้งว่านำออกไม่ได้ หรือทำได้ล่าช้า เพราะสาเหตุใด
ซึ่งวันที่ 16 พฤษภาคม จะประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปว่าเว็บเพจที่เหลือดังกล่าวสามารถนำออกได้หมดหรือไม่ หากยังไม่หมดจะดำเนินการเชิญเฟซบุ๊กในประเทศไทยเข้ามาหารืออีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำให้การดำเนินการสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศไทยและทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทยเกิดขึ้นให้ได้
อย่างไรก็ตาม การปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ทางกระทรวงดีอี มีสถานะเป็นโจทก์เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ. กสทช.) ซึ่งหากเฟซบุ๊กยังไม่ปฏิบัติตาม กระทรวงดีอีจะดำเนินการ ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เนื่องเฟซบุ๊กในประเทศไทย ได้จดทะเบียนการค้าขึ้นกับกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ เบื้องต้นขอให้มองโลกในแง่ดีว่า URL ที่เหลือ จะสามารถปิดได้หมด ส่วนเหตุการณ์เฟซบุ๊กล่ม ตลอดจนการเข้ากูเกิลไม่ได้ นั้น ขอย้ำว่าเป็นเรื่องของบริษัทของเขาเองที่มีการปรับปรุงระบบ ไม่ได้เกี่ยวกับผลกระทบจากการสั่งปิด URL ดังกล่าวแต่อย่างใด
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดดีอี กล่าวว่า วันที่ 16 พฤษภาคมนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเดินทางไปยังสมาคมไอเอสพี เพื่อตรวจสอบและติดตามการทำงานเพื่อยืนยันความร่วมมือ และดูว่ายังเหลือเว็บที่มีปัญหาค้างอีกกี่เว็บ อีกทั้งจะตรวจสอบว่าเว็บเหล่านั้นกระทำความผิดเข้าข่ายขัดกับกฎหมายอะไรบ้าง เพื่อให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังจากมีคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการเอาจริงเอาจังกับการจัดการเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ได้มีการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จนทำให้สามารถปิดกั้นเว็บเพจที่ทำผิดกฎหมายได้เพิ่มอีกกว่า 1,000 URL ซึ่งนอกเหนือจากหมายศาลเดิมที่ได้ส่งไปยังไอเอสพีก่อนหน้านั้น
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 28 เมษายน ที่กองกำกับการสายตรวจ 191 กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.สปพ. พ.ต.อ.สำราญ นวลมา รองผบก.สปพ. พ.ต.อ.จักรเพชร เพชรพลอยนิล ผกก.สายตรวจ และพ.ต.อ.นิธิธร จินตกานนท์ รองผ
มติชน สมาร์ทบิซ วันที่ 28 ก.ย.2559 ตัวเลข ล่าสุด ระบุว่า มูลค่าการค้า อีคอมเมิร์ซ ของไทย พุ่งสูงไปกว่า 2.24 ล้านล้าน พร้อมๆ กับมีข่าว ก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาล เตรียม เก็บภาษี อีคอมเมิร์ซ และ เน็ต ไอดอล มุมมอง และ ผลกระทบ จะเป็นอย่างไร? ไปฟังทัศนะทางกฎหมา
พ่อค้าแม่ค้า ข้าราชการ แห่เข้าแจ้งความหลังถูกสาวเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าโกงแชร์ออนไลน์ สูญเงินรวมกว่า 10 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 21 ธ.ค.59 น.ส.คันธาณ์มาลย์ ธีรสบายจิต อายุ 26 ปี ชาว ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และ นายเจนภพ จงใจ อายุ 30 ปี ชาว
โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช. telecomreport@hotmail.com