เจ้าของ 20 แบรนด์ร้องกองปราบโดน บ.เอกชนตุ๋นขายสินค้าตลาดจีน จัดเน็ตไอดอลโปรโมตไม่เป็นตามอ้าง
18 ต.ค. 60 เน็ตไอดอล 1525

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) น.ส.ธนัทธรณ์ ตะนาวสินรังสี หรือนินท์ ประกอบธุรกิจส่วนตัว พร้อมกลุ่มผู้เสียหายเจ้าของหรือตัวแทนแบรนด์สินค้าต่างๆ กว่า 20 แบรนด์ เข้าพบ พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบก.ป. พ.ต.อ.ชาคริต สวัสดี พ.ต.อ.สมควร พึ่งทรัพย์ พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี น.ส.อรอุมา กุลนาค หรือมด กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท บีเอ็มพี (ประเทศไทย) จำกัด ในความผิดฉ้อโกงประชาชน โดยทำหนังสือร้องทุกข์และนำเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน

น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวว่า ได้รู้จักบริษัทดังกล่าวผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 ดำเนินธุรกิจรับสร้างแบรนด์และโปรโมตสินค้า เพื่อเสนอขายไปยังตลาดในประเทศจีน ต่อมาทราบว่าบริษัทแห่งนี้ได้จัดทำโครงการ “50 ไชนิสเน็ตไอดอล อะเมซิ่ง ไลฟ์อินไทยแลนด์ 2016” ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเน็ตไอดอลชื่อดังในประเทศจีนที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน มาช่วยโปรโมตสินค้าให้กับประกอบการชาวไทย โดยเน็ตไอดอลจะมีการพูดโปรโมตสินค้าให้เป็นเวลา 30 นาที ผ่านช่องทางถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์เทาเป่า “Taobao Live” ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ยอดนิยมในประเทศจีน พร้อมกับการันตีว่าหากเข้าร่วมโครงการแล้วจะมีลูกค้าในประเทศจีนมาสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมโครงการจะถูกคิดค่าใช้จ่ายเป็นยูนิต ยูนิตละ 75,900 บาท โดยทุก 1 ยูนิต จะมีการจัดหาเน็ตไอดอล 1 คน เพื่อโปรโมตสินค้าให้

น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวต่อว่า เมื่อรู้สึกสนใจเพราะอยากขยายตลาดแบรนด์สินค้าในประเทศจีน จึงสมัครซื้อยูนิตไป แต่ภายหลังกลับปรากฏว่าเน็ตไอดอลที่กล่าวอ้างนั้นไม่ได้มีชื่อเสียงหรือผู้ติดตามเป็นหลักล้าน โดยมีผู้ติดตามแค่หลักพันถึงหลักหมื่นคน ส่วนการพูดโปรโมตสินค้าก็ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ที่สำคัญหลังจากโปรโมตสินค้า ยอดขายก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กล่าวอ้าง

น.ส.ธนัทธรณ์กล่าวอีกว่า การดำเนินการอีกหลายอย่างโครงการไม่ตรงตามที่ระบุไว้ เช่น กรณีที่อ้างว่าจะลงโฆษณาสินค้าให้ในเว็บไซต์ ก็ไม่มีการลงโฆษณา, การรายงานการสั่งซื้อสินค้าของผู้ประกอบการก็ไม่มีการดำเนินการ หรือแม้แต่การดูแลด้านการตลาดให้ตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยขณะนี้พบว่ามีผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ กว่า 20 แบรนด์ ที่หลงเชื่อจ่ายเงินซื้อยูนิตเพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจนได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท

ผู้เสียหายรายนี้กล่าวว่า ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับตัวของเจ้าของบริษัทดังกล่าวนั้น พบว่ามีการสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกหนังสือ “ปล้นคนจีน” อ้างว่าเป็นเจ้าของโรงงานผลิตขนตาปลอมเจ้าเดียวในประเทศไทย เคยอาศัยในประเทศจีนมานานกว่า 10 ปี รวมถึงการอ้างถึงบริษัทและสถาบันการเงินชื่อดัง ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วย การกระทำดังกล่าวจึงน่าจะมีเจตนาที่จะหลอกลวงผู้เสียหายมาแต่แรก พวกตนจึงรวมตัวกันเข้าแจ้งความในครั้งนี้

ด้าน พล.ต.ต.สุทินกล่าวว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องไว้โดยมอบหมายให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ร้องทุกข์และรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนพิจารณาดำเนินคดีต่อไป

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ไมโครซอฟท์จัดงานเสวนา Microsoft Thailand Cyber Trust Experience ร่วมต่อสู้กับอาชญากรรมบนโลกออนไลน์


29 ต.ค. 58  Cyber Crime

การเพิ่มจำนวนขึ้นของซอฟท์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับองค์กรทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ตกอยู่ในความสนใจของชาวโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) และ บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ (Sony Pictures Entertainment) ได้ถูกกลุ่มแฮ็คเกอร์จารกรรมข้อมูล ทำให้เห็นว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ใช้ Online Banking ต้องไหวตัวเร็ว พบไวรัส Android มุ่งเป้า Kbank!


17 ม.ค. 59  online banking

ต้องบอกว่าใครที่ใช้ Online Banking บ่อยๆ และคนที่ใช้สมาร์ทโฟนระบบ Android ต้องระวังเป็นพิเศษ หลังมีคนพบมัลแวร์ที่แปลงหน้าเว็บ Online Banking จริงๆ ของ Kbank ให้มีการส่งข้อความเพื่อดาวน์โหลดแอป!

ฟร้อนต์เพจ ออนไลน์ :เลิกสักที “เผด็จการ…สุขภาพ”


18 ต.ค. 60  สุขภาพ

ผู้เขียนสราวุฒิ สิงห์เอี่ยม วันที่ 22-23 ธันวาคมนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดประชุมพิจารณาร่างกฎหมายหลายฉบับ หนึ่งในนั้นคือ ร่างพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยจะมีการแก้ไขร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อ